Main image

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Black PK-A SVD

Black PK-A SVD Mount
Black PK-A Weaver Mount

ผู้ผลิต : Zenit BelOMO
รุ่น : PK-A Military Fast Acquisition Red Dot Rifle Scope, SVD Version, Weaver Version
คุณสมบัติ : เรดดอท กำลังขยาย 1X ไฟสีแดง จุดเล็งขนาดเล็ก 1 MOA ปรับความสว่างได้ 8 ระดับ
ราคา : 12XXX
รูปจากในเนท



Haduni's Comment : ตัวนี้มาจากสายรัสเซีย ที่พอหาง่าย ๆ จะเป็นตัวธรรมดาสีเทา แต่ตัวนี้ที่พิเศษเพราะมันมาคู่ มาทั้งแบบขาจับ SVD และขาจับ Weaver ซึ่งตัวขาจับแบบ Weaver ผมไม่เคยเห็นในเนทจากที่ไหนมาก่อนเลย จนมาเห็นคนปล่อยขายมาเนี่ยแหละ นับเป็นดอทที่ลึกลับสุด ๆ หาข้อมูลมันไม่ได้เลยครับ จัดเข้าระดับตำนานได้เลย




Credit Review : BrigGenแข้งINSAS



สวัสดี ครับ กลับมาแวะห้องนี้เป้ฯครั้งคราวนะครับ ไม่รู้ว่าทุกท่านคิดถึงผมกันหรือเปล่า(ฮา) วันนี้ผมก็ได้ดอทจากรัสเซียจากนักจัดหาคนเก่งในห้องเรามารีวิวให้ทุกท่านได้ ชมครับ รูปส่วนใหญ่ ผมถ่ายไว้ตั้งแต่วันเสาร์แล้วละ แต่งานผมยุ่งพอสมควรทีเดียว

วันนี้ว่างๆเลยได้มีโอกาสมารีวิวให้ทุกท่านได้ดูกันครับ


ว่าแล้ว เราก็ไปดูกันดีกว่าครับว่า "2 สไตล์" ที่ว่าเนี่ย เป็ฯยังไงเอ่ย ยิงฟันยิ้ม

Belomo PK-A


เอาละครับ ก่อนอื่น เรามารู้จักดอท PK-A กันก่อนนะครับ

ดอท รัส เซียที่ผมกำลังรีวิวิยู่ในขณะนี้ มาจากโรงงานBelomo Opticsจากประเทศเบลารุส เป็ฯศูนย์เล็งแบบที่ใช้เป็นาตรฐานกับปืนAKของรัสเซีย (แต่ภายหลังแพ้ประมูลให้กับKobra) PK-A ออกแบบมาเพื่อเป็นศูนย์แบบยิงเร็วโดยเล็งจากการลืมตาทั้ง2ข้าง หรือเล็งด้วยตาซ้าย(ในกรณีที่ถนัดขวา) ภายในเมื่อมองผ่านเข้าไป เป็นRed Dot แบบจุดแดง โดยลักษณะพิเศษคือจุดแดงจะยังคงอยู่บนเป้าหมายแม้ว่าผู้ยิงจะขยับสายตาไปทาง อื่น (เช่นระหว่างวิ่ง หรือยิงในระบบอัติโนมัติเต็มตัว)
สำหรับปุ่มหมุน ปรับศูนย์เป็ฯแบบพื้นๆ สามารถปรับได้ทั้งตามเข็ม และ ทวนเข็มนาฬิกา ในการหมุนแต่ละคลิก จะขยับศูนย์เล็งขึ้นไป 2มม. ที่ระยะยิงที่100เมตร จุดเล็งสามารถปรับความสว่างได้ทั้งหมด8ระดับ ซึ่งปรับด้วยมือโดยการหมุนสวิทช์ ตัวPK-A สามารถติดตั้งบนAK Series รุ่นใดก็ได้ที่มีรางข้าง ไม่ว่าจะเป็ฯของจีน บัลแกเรีย โรมาเนีย RPK หรือแม้แต่ลูกซองAKอย่างSAIGA

ตัวดอทPK-A ทำจากอลูมิเนียมแข็งแรงแทรกด้วยไนโตรเจแห้งเพื่อป้องกันฝ้าหรือละอองวน้ำ เกิดขึ้นบนผิวดอทเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกระทันหันครับ จึงมั่นใจได้ว่า ดอทจากเบลลารุถสตัวนี้แกร่งจริงๆ

อย่างไรก็ดีครับ ปัจจุบัน สหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว ทางBelomoเองก็จับกาตลาดถูก เมื่อพบว่าปัจจุบัน มีกองทัพในยุโรปตะวันออกไม่น้อยที่หันไปใช้ปืนจากค่ายอเมริกันอย่างM4 หรือปืนรุ่นอื่นๆจากต่ายนาโต้NATO ที่รางแบบ MIL-STD1913 หรือรางแบบ Picatinny ติดอุปกรณ์เสริมที่เรารู้จักกันดีเป็นมาตรฐาน ทางBelomoก็เลยได้ออกแบบPK-Aขึ้นมาอีกรุ่นครับที่ใช้รางแบบWeaver เพื่อใช้ติดตั้งกับรางในปืนตระกูลของNATOโดยเฉพาะ เพราะว่ามีหลายประเทศไม่น้อยที่ประทับใจการทำงานของPK-Aมากกว่าAim Point และEO-Tech โดยมีราคาถูกกว่ากันเกือบ30% ยิงฟันยิ้ม

เราลองไปดูกันนะครับ

เปรียบเทียบระหว่างปืน2รุ่น แต่ดอทแบบเดียวกัน คือPK-A รางข้างของอาก้า และPK-A แบบขาจับWeaver ติดตั้งบนLR-300ของพี่Midnight Blue


ดูความแตกต่างชัดๆ 2 พี่น้องคู่นี้ครับ

บนAIMS ของพี่ชะโดตีแปลง


บนLR-300

มาดูอีกมุมหนึ่งครับ




เรา จะสังเกตุได้นะครับว่าผิวของงานเหมือนกัน(แหงอยู่แล้ว) แต่ว่ามิติของPK-A Weaver จะออกกะทัดรัดกว่าซักเล็กน้อย แต่ฟีเจอร์บนตัวดอทนั้น เหมือนกันหมดทุกประการครับ (แต่Turet ปรับแสงของPK-AWจะอยู่ด้านบนคู่กับปรับศูนย์ แต่ถ้าเป็นPK-A Turretจะอยู่ด้านขวาครับ) แต่สิ่งหนึ่งที่PK-A Weaver ไม่เหมือนตัวดั้งเดิมคือ ดอทนั้นจะไม่เยืองไปทางซ้ายและต้องเล็งตาซ้ายเหมืนAK แต่เล็งตาขวามตามปรกติเหมือนดอททั่วไปได้เลยครับ และมีความสวยงามแปลกตาลงตัวไปอีกแบบ โดยเฉพาะเมื่อติดกับLR-300 ผมคิดว่าดูดีกว่าM4 แบบอื่นๆครับ (แต่ผู้อ่านท่านอาจจะมองไปอีกอย่างก็ได้ แล้วแต่วิจารณญาณครับ 555)



มาดูดีกว่าครับว่าเมื่อลองถือในมือจะเป็นอย่างไร


นายแบบ พี่ไปรท์TIMOTOOO และ พี่เก่ง Keang'D Singha Armamentครับผม




เมื่ออยู่กับAK PK-A กลายเป็นเหมือนพระเครื่องเสริมสร้างความน่าเกรงขาม


กับM4 LR-300 PK-A คือสิ่งที่ทำให้M4กลายนเป็นมากกว่าปืนเจ้าสำอางค์(ฮา) ดุดันมากกว่าติดACOG เสียอีก ยิ้มกว้างๆ













นับ ได้ว่าPK-Aเป็นดอทที่คุ้มค่าตัวหนึ่ง และมีคุณค่าในตัวของมันเองที่ผู้เป็นเจ้าของจะภูมิใจเมื่อได้ครอบครองครับ ในราคาค่าตัวหมื่นต้นๆ ผมนับว่าเป็ฯการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวมาก โดยเฉพาะตัวขาจับWeaver เพราะเราสามารถนำมันไปติดตั้งกับปืนรุ่นอื่นๆได้อีกที่มีรางมาตรฐาน โดยรู้สึกได้เลยละครับว่าไม่เหมือนใครแน่นอน
Red Dot Scope Review

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

RSS Feed