Main image

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

RAKURS-A

http://i41.photobucket.com/albums/e297/Rusputin/airsoftgun/11856900.jpg
ผู้ผลิต : NPZ
รุ่น : RAKURS-A
คุณสมบัติ : สโคปกำลังขยาย 1X เส้นเล็งแบบ GERMAN POST มี TRITIUM ช่วยเรืองแสงเส้นเล็งในที่มืด
ราคา : 18XXX
รูปจากในเนท

Haduni's Comment : ตัวนี้เป็นสโคปกำลังขยาย 1X แบบเดียวกับ PK-AS ที่เคยรีวิวไป แต่แจ๋วกว่าตรงเส้นเล็งแบบ GERMAN POST คือ มีแค่สามขีด ไม่มีขีดบน และยังมี TRITIUM ช่วยเรืองแสงเส้นเล็งในที่มืดอีกด้วย ไม่ต้องใส่ถ่าน นับว่าเป็นเครื่องช่วยเล็งที่ค่อนข้างสุดทีเดียวทางสายรัสเซีย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม




Credit Review : ชะโดตีแปลง





สวัสดีทุกท่านนะครับ

พบ กันอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน กัีบการรีวิวอุปกรณ์ช่วยเล็งจากรัสเซียที่มีรุ่นแปลกๆ หายากๆ มาให้เราได้ดูได้ชมกัน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณท่าน Haduni ที่เที่ยวตระเวนหาข้อมูล และดอทตัวเป็นๆมา และที่ขาดไม่ได้ ก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ที่ลงทุนสั่งอุปกรณ์ช่วยเล็งแต่ละตัวเข้ามา เลยเป็นโอกาสให้ผมได้ทดลอง ได้สัมผัสในตอนรีวิวครับ ยิงฟันยิ้ม

อุปกรณ์ ช่วยเล็งในคราวนี้ เป็นกล้องเล็ง จากรัสเซียขนานแท้ ผลิตจากโรงงาน NPZ ตั้งอยู่ ณ เมือง Novosibirsk ประเทศรัสเซีย ซึ่งแตกต่างจากอุปกรณ์ช่วยเล็งค่ายตะวันออกตัวอื่นๆที่เราๆรู้จักกัน ที่มักจะมาจากโรงงาน Belomo ประเทศเบลารุสครับ

อันที่จริงแล้ว NPZ และ Belomo ก็เป็นบริษัทในเครือๆเดียวกัน รวมไปถึง Zenit ที่ทำกล้องถ่ายรูปและกล้องมองกลางคืนด้วย โดย NPZ จะเน้นที่ผลิตอุปกรณ์ป้อนกองทัพ แต่ Belomo จะมุ่งไปทางพลเรือนและการส่งออก ซึ่งหากย้อนเวลากลับไปดูในจุดเริ่มต้น บริษัททั้งสามนี้ เคยดำเนินธุรกิจในช่วงต้นร่วมกับผู้ผลิตเลนส์ชื่อดัง Carl Zeiss แห่งเยอรมันด้วยครับ แต่แล้วด้วยเหตุผลทางสังคมและการเมือง NPZ และ Belomo จึงต้องแยกตัวจากกันไป กลายเป็นตั้งอยู่คนละประเทศกัน



อุปกรณ์ ช่วยเล็งที่ผมนำมารีวิวในครั้งนี้ คือ RAKURS-A หรือหากจะเขียนเทียบเป็นแบบ Cyrilic จะได้เป็นตัวอักษรว่า PAKYPC-A ผลิตออกมาครั้งแรกในยุค 90 เป็นเครื่องช่วยเล็งที่ผลิตออกมาจำนวนน้อย และหาได้ยาก เนื่องจากผลิตเพื่อส่งมอบให้กองกำลังระดับพิเศษหรือ Spetnaz ของกระทรวงกิจการภายใน หรือ MVD (เทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในบ้านเรา) เช่น Vityaz, OMOH



เครื่อง เล็งตัวนี้ ไม่ใช่เรดดอทครับ จุดเล็งของตัวนี้นั้นไม่ได้เป็นการฉายจุดเล็งให้ตกบนกระจกรับภาพ แต่ว่าเป็นเส้นเล็งที่ติดตั้งไว้ในกล้อง เช่นเดียวกับสโคปปืนซุ่มยิงทั่วๆไป หากแต่ว่ามีกำลังขยายเพียง 1 เท่าแค่นั้น ซึ่งข้อดีของมันที่เหนือกว่าจุดเล็งแบบเรดดอทคือ มันให้ภาพได้เต็มเลนส์ครับ ในขณะที่กล้องเรดดอท เราจะเห็นได้เลยว่าเราเล็งผ่านกระบอกที่เป็นตัวเรือนกล้องไป ซึ่งทำให้มุมมองในการเล็ง ค่อยข้างถูกจำกัด





รูป แบบของจุดเล็งแบบนี้ ดูๆไปแล้วก็จะเหมือนๆกับ PK-AS แต่ว่า RAKURS-A นั้น ไม่ธรรมดาครับ ด้วยหน้าเลนส์พริสมาติกขนาด 23 มม. ที่ฉาบสารเคลือบเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน จึงทำให้ได้ภาพที่ใส มุมมองกว้าง และคมชัดเหนือกว่า PK-AS ขึ้นไปอีก (PK-AS หน้าเลนส์ 16มม.) อีกทั้งลูกเล่นอันแพรวพราวของตัวนี้ก็คือ มันไม่ต้องใช้ถ่านครับ การส่องสว่างจุดเล็งนั้นมาจากการเรืองแสงของ Tritrium ที่จะมองเห็นจุดเล็งเป็นสีเขียวในที่มืด เรียกได้ว่า มาประกบเป็นคู่แข่งกับกล้องเล็งจากค่าย Trijicon เลยทีเดียว



จุด เด่นอีกอย่าง ที่ทำให้ RAKURS-A เหนือกว่าเรดดอททั่วไป คือด้วยความคมชัดของภาพ และจุดเล็ง ร่วมกับปุ่มปรับศูนย์เล็ง ที่มีความละเอียดสูงมาก ทำให้มันสามารถใช้งานได้มากกว่าการรบระยะประชิดแบบ CQB แต่ยังสามารถใช้ในการรบในพื้นที่เปิดได้ โดยให้ระยะหวังผลได้ถึง 440 เมตร เลยทีเดียว อีกทั้งถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อสภาพอากาศและอุณหภูมิแบบสุดขั้วเลยครับ

ขาจับรางในรูปแบบ AK Mount



ตัวกล้อง ตั้งอยู่แนวกึ่งกลางลำตัวปืน ไม่เหมือนพวก PK-A หรือ POSP ที่จะขนานอยู่ทางด้านซ้ายของตัวปืน



ตัวกล้อง แม้จะดูว่าตำหน่งอยู่ค่อนข้างสูงแต่การใช้งานจริงแล้ว อยู่ในระดับสายตาเมื่อแนบแก้มเข้าที่พานท้ายพอดี



ขากล้อง แข็งแรง บึกบึน สมกับที่เป็นของรัสเซีย น้ำหนักของตัวกล้องโดยรวม ก็ไม่หนักเหมือนกล้องจากค่าย Belomo (PK-A, POSP)



ฝา ยางปิดเลนส์ค่อนข้างเกะกะ น่ารำคาญครับ ไม่มีที่เก็บเป็นหลักแหล่ง ต้องห้อยทิ้งไว้ ไม่เหมือนพวก PK-A หรือ POSP ที่ฝายาง จะครอบปุ่มปรับศูนย์ไว้ได้พอดี้ ไม่แกว่งไปแกว่งมาครับ



หลัง จากติดตั้งบนปืน และทำการทดสอบใช้งาน ผมให้ความเห็นโดยส่วนตัวว่า RAKURS-A นั้นเป็นเครื่องเล็งที่มุ่งเน้นการใช้งาน มากกว่าความสวยงามครับ ด้วยรูปทรงที่แข็ง ทื่อ ตรงไปตรงมามาก สมกับสไตล์รัสเซียนจริงๆครับ




ภาพ จากการเล็งการคมชัดดีมาก แต่ว่าด้วยระยะ Eye relief หรือระยะห่างจากเลนส์ มาถึงดวงตา ที่จะให้ภาพได้เต็มเลนส์และคมชัดที่สุด มันอยู่ที่ 100 มม. ซึ่งผมว่ามันสั้นเกินครับ ผมต้องทำการโน้มหัวไปข้างหน้ามากกว่าท่ายิงปกติ ถึงจะเห็นภาพได้เต็มเลนส์ ถ้าระยะ Eye relief ถอยห่างมาอยู่ที่ราวๆ 110-115มม. ก็จะเป็นท่ายิงที่สมบูรณ์แบบเลยครับ

อย่างที่สอง จุดเล็งที่เป็น Tritium เรืองแสงนั้น ยังมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับเครื่องเล็งจากค่าย Trijicon ครับ เพราะว่ามันจะเรืองแสงให้เห็นในกรณีที่มืดสนิทจริงๆ หากยังมีแสงสว่างอยู่ ก็จะมองแทบไม่เห็นจุดเล็งเรืองแสงขึ้นมาเลยครับ ซึ่งผมว่าน่าจะใช้งานลำบาก หากต้องการเล็งเข้าไปในที่มืด โดยที่ตัวเรายังอยู่ในที่สว่างครับ รวมทั้งมุมองศาในการเล็งก็มีผลด้วยครับ ที่จะทำให้มองเห็นหรือไม่เห็นเส้นเล็งเรืองแสงขึ้นมา



โดย สรุปแล้ว ผมว่าเป็นเครื่องเล็งชั้นยอดตัวนึง ได้คะแนนไปจากขนาดเลนส์ที่ใหญ่ ให้ภาพได้แจ่มแจ๋วมากๆ บวกกับจุดเล็งคมกริ๊บ แต่น่าเสีัยดายที่การใช้งานในที่มืด ยังไม่สะดวกและชัดเจนเต็มที่นัก ในมุมของประสิทธิภาพเลยยังค่อนข้างห่างชั้นกับ Trijicon แต่หากเทียบชั้นราคาที่ต่างกันแทบจะครึ่งๆ RAKURS-A จึงกลายมาเป็นผู้นำในเครื่องเล็งระดับราคาชั้นกลาง ที่ส่วนใหญ่จะยังเป็นระบบเรดดอทอยู่




Credit Review : ชะโดตีแปลง
Red Dot Scope Review

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

RSS Feed